การทำงานของเครื่องกลึง

เป็นเครื่องจักรที่สำคัญสามารถแปรรูปโลหะทรงกระบอกเป็นหลัก สำหรับกลึง เจาะ คว้านรู เพื่อผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรเครื่องยนต์กลไกต่างๆ สำหรับงานผลิต และงานซ่อม งานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนต้องมีเครื่องกลึงเป็นหลัก เครื่องกลึงจึงได้ชื่อว่า  ราชาเครื่องกล (The King of all Machines)

ส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์ มีส่วนประกอบที่สำคัญๆ อยู่หลายชิ้น สามารถแยกเป็นส่วนประกอบใหญ่ๆ ได้เป็น 5 ส่วนสำคัญคือ

  1. หัวเครื่องกลึง (Head Stock)
  2. แท่นเลื่อน (Carriage)
  3. ยันศูนย์ท้าย (Tail Stock)
  4. ฐานเครื่องกลึง (Bed)
  5. ระบบป้อน (Feed Mechanism)

 

ชนิดของเครื่องกลึง

  1. เครื่องกลึงยันศูนย์ (Engine Lathe) เป็นเครื่องกลึงความเร็วรอบสูง ใช้กลึงงานได้หลายขนาดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ใหญ่เกินไป และกลึงงานได้หลากหลาย นิยมใช้ในโรงงานทั่วไป
  2. เครื่องกลึงเทอร์เรท (Turret Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่มีหัวจับมีดตัดหลายหัว เช่น จับมีดกลึงปากหน้า มีดกลึงปอกมีดกลึงเกลียว จับดอกเจาะยันศูนย์ เป็นต้น ทำให้การกลึงงานที่มีรูปทรงเดียวกันและมีจำนวนมากๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การกลึงเกลียว การบู๊ช เป็นต้น
  3. เครื่องกลึงตั้ง (Vertical Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในงานกลึงปอก งานคว้านชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น เสื้อสูบ เป็นต้น
  4. เครื่องกลึงหน้าจาน (Facing Lathe) เป็นเครื่องกลึงที่ใช้ในการปาดหน้าชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น ล้อรถไฟ เป็นต้น

 

ส่วนประกอบและหน้าที่ของเครื่องกลึงยันศูนย์

  1. หัวเครื่องกลึง (Head Stock) ชุดส่วนที่อยู่ซ้ายสุดของเครื่องใช้ในการขับหัวจับ  หรือขับชิ้นงานให้หมุน มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้
  • ชุดส่งกำลัง (Transmission) เครื่องกลึงจะส่งกำลังขับงานกลึงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าผ่าน สายพานลิ่ม (V-Belt) และชุดเฟือง (Gear) ที่สามารถปรับความเร็วรอบได้ระดับต่างๆ เพื่อไปขับเพลาหัวจับงาน (Spindle) ให้หมุน
  • ชุดเฟืองทด (Gears) ใช้ทดความเร็วรอบในการกลึงมี 2 ชุด คือ ชุดที่อยู่ภายในหัวเครื่องและชุดที่อยู่ภายนอกหัวเครื่องกลึง
  1. ระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling  Pump) จะอยู่ที่ฐานรองของเครื่องกลึง ซึ่งจะประกอบด้วยปั๊ม (Pump) ที่จุ่มอยู่ในถังของน้ำหล่อเย็น และสายยางน้ำหล่อเย็นที่โผล่ขึ้นมา และจับยึดอยู่บนชุดแท่นเลื่อน ซึ่งจะพ่นน้ำหล่อเย็นตรงกับงานตลอดเวลา

 

อุปกรณ์ของเครื่องกลึง และหน้าที่การใช้งาน

  1. หัวจับเครื่องกลึง (Chuck) หัวจับเครื่องกลึงมี 2 ชนิด คือ หัวจับชนิด 3 จับ ฟันพร้อม (A Three-Jaw Universal Geared Scroll Chuck) และหัวจับชนิด 4 จับฟันอิสระ (A Four-Jaw Independent Chuck) หัวจับทั้ง 2 ชนิดทำหน้าที่ในการจับชิ้นงานกลึง ซึ่งหัวจับชนิด 3 จับฟันพร้อมสามารถจับชิ้นงานได้รวดเร็ว เช่น จับชิ้นงานกลม ชิ้นงาน 6 เหลี่ยม และชิ้นงาน 3 เหลี่ยมด้านเท่าเป็นต้น ส่วนหัวจับชนิด 4 จับฟันอิสระสามารถจับชิ้นงานได้ทุกรูปแบบ
  2. กันสะท้านของเครื่องกลึง (The Steady Rest) เป็นอุปกรณ์ของเครื่องกลึงที่ทำหน้าที่ช่วยประคองชิ้นงานยาว ๆ ขณะทำการกลึงไม่ให้เกิดการหนีศูนย์
  3. จานพาเครื่องกลึง (Lathe Faceplates) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จับชิ้นงานกลึง ทำหน้าที่เป็นตัวจับห่วงพาเพื่อพาชิ้นงานหมุน บางครั้งยังสามารถใช้จับชิ้นงานแบนๆ ได้อีกด้วย
  4. ห่วงพาเครื่องกลึง (Lathe Dogs) ใช้จับชิ้นงานโดยวิธียันศูนย์ใช้คู่กับจานพา และศูนย์ของเครื่อง
  5. ศูนย์เครื่องกลึง (Lathe Centers) ทำหน้าที่ประคองชิ้นงานกลึงที่มีความยาว ศูนย์ของเครื่องกลึงมี 2ชนิด คือ ศูนย์ตาย (A Revolving Deal Center) และศูนย์เป็น (A Heavy Duty Ball Center)
  6. ด้ามมีดกลึง เป็นเครื่องมือที่ใช้จับมีดกลึงก่อนที่จะประกอบเข้ากับป้อมมีด
  7. ตัวพิมพ์ลาย (Knurling) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำหน้าที่ในการพิมพ์ลายชิ้นงานให้เป็นรูปลายต่าง

 

ความเร็วรอบ  ความเร็วตัด และอัตราป้อน

  • ความเร็วรอบ (Speed) หมายถึง ความเร็วรอบของชิ้นงานหรือความเร็วรอบของเครื่องมือตัดที่หมุนได้ในเวลา 1 นาที มีหน่วยวัดเป็นรอบต่อนาที (Revolution Per Minute: RPM)
  • ความเร็วตัด (Cutting Speed) หมายถึง ความเร็วที่คมมีดตัด ตัดหรือปาดผิวโลหะออกเมื่อชิ้นงานหมุนไปครอบ 1 รอบ ซึ่งมีดตัดจะต้องปาดผิวโลหะออกเป็นเส้นยาว เท่ากับเส้นรอบวงของชิ้นงานพอดี หน่วยวัดความเร็วตัดคิดเป็นเมตรต่อนาที

 

ข้อพิจารณาในการเลือกความเร็วตัดจากเครื่องกลึง

  1. วัสดุชิ้นงานที่มีความแข็ง จะใช้ค่าความเร็วจัดต่ำกว่าชิ้นงานที่อ่อน
  2. มีดกลึง ดอกสว่าน มีดกัด ที่ทำจากวัสดุเหล็กรอบสูง จะใช้ความเร็วตัดต่ำกว่า มีดตัดที่ทำจากโลหะแข็ง
  3. การหล่อเย็นที่เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน จะสามารถใช้ความเร็วตัดได้สูงกว่าการกลึงงานที่ไม่มีการหล่อเย็น
  4. ขนาดหน้าตัดหรือความหนาของเศษโลหะ ถ้ากลึงหรือตัดชิ้นงานทีละน้อยหรือป้อนกินไม่ลึกเกินไป จะใช้ความเร็วตัดได้สูงกว่าการป้อนกินงานครั้งละมากๆ
  5. ชนิดและขนาดของเครื่องจักรกล ถ้าเป็นเครื่องจักรกลที่มีขนาดใหญ่และเครื่องที่ใหม่กว่าจะสามารถใช้กลึงงานได้มากกว่า เร็วกว่าและใช้ความเร็วตัดได้มากกว่า
Please follow and like us: